วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ป้องกัน ไขมันเกาะตับ กันนะจ๊ะ

" ไขมันเกาะตับ "
ภายหลังการตรวจสุขภาพประจำปี พบว่าพนักงานส่วนหนึ่ง ตรวจพบ “ ไขมันเกาะตับ ” โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มาติดตามกันดีกว่า

“ ไขมันเกาะตับ ” ( Fatty Liver ) เป็นภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันมากเกินไป จนตับขับทิ้งไม่หมด จึงนำไขมันไปเก็บไว้ที่เซลล์ตับ ซึ่งไขมันเหล่านี้เป็น ไขมันชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์
&n bsp; หากปล่อยให้ไขมันเกาะตับเป็นเวลานานๆ จะส่งผลเสียต่อการทำงานของตับจนเซลล์ตับเกิดภาวะอักเสบ แล้วนำไปสู่ภาวะตับแข็งและมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่าอาจสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้ เพียงแต่อาจจะเท่านั้นเพราะมะเร็งตับส่วนใหญ่ เกิดจากตับแข็ง ด้วยสาเหตุจากสุราหรือติดเชื้อไวรัสมากกว่า
การรักษาเพื่อมิให้ไขมันเกาะตับ ทำได้โดยการควบคุมอาหาร ที่มีแป้ง น้ำตาล ไขมันจากสัตว์ กะทิ ข้าวสวย ข้าวเหนียว จึงควรรับประทานแต่น้อย แต่ควรรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อปลาให้มาก ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน ที่สำคัญต้อง ลดน้ำหนักตัวให้กลับสู่มาตรฐานของตนเองโดยเร็ว และ มี อารมณ์ร่าเริงแจ่มใส ไม่เป็นคนเครียดง่าย อาการไขมันเกาะตับก็จะค่อยๆลดลง เพราะไขมันจะถูกสลายจากขบวนการเผาผลาญพลังงาน และหายไปได้ในที่สุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับตับ

ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ตับของผู้ใหญ่จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม และที่สำคัญปริมาณโลหิตในร่างกายซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 5,000 ซีซี. (5 ลิตร) จะไหลเวียนผ่านตับ 1 รอบโดยใช้เวลาเพียง 4-5 นาที หรือวันละ 360 รอบ จำนวนเลือดที่ไหลผ่านตับจึงมีปริมาณมากถึงวันละ 1,800 ลิตร (คิดเป็นน้ำหนัก 1.8 ตัน)
ตับ เป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรง และมีความสำคัญมาก เพราะตับเป็นทั้งอวัยวะแห่งการสร้าง ซ่อมแซม ควบคุม เก็บกัก และขับของเสียออกจากร่างกาย ดังนี้

• อวัยวะแห่งการสร้าง ตับสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สร้างโปรตีนหลายชนิดเพื่อให้ร่างกายนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างน้ำย่อยที่เรียกว่าน้ำดีไว้ใช้ย่อยอาหารในลำไส้ แม้กระทั่งสร้างหรือสังเคราะห์ไขมันเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตฮอร์โมนไว้หล่อเลี้ยงระบบต่างๆในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น
• ตับช่วยซ่อมแซม เมื่อเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพเนื่องจากอาการของโรคเบาหวาน ตับจะทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ตับอ่อนสามารถทำงานต่อไปได้ และยังช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับอ่อนให้กลับเป็นปกติได้ด้วย ดังนั้น ถ้าตับมีสุขภาพดีการควบคุมน้ำตาลในเลือดก็จะดีตามไปด้วยเพาะตับอ่อนมีสุขภาพดีนั่นเอง โรคเบาหวานจึงเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ถ้ามีตับที่แข็งแรง
• ตับช่วยควบคุม เช่นควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย ควบคุมการขับสารพิษให้ออกจากร่างกาย ควบคุมการนำสารอาหารที่ย่อยแล้วจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างเหมาะสมซึ่งเป็นกลไกที่มีความสำคัญที่สุดของการมีสุขภาพดี
• ตับช่วยเก็บกัก เช่น เก็บพลังงานไว้ใช้ในยามจำเป็นเมื่อประสบภัยอย่างกระทันหันร่างกายจะมีพละกำลังมหาศาล เช่นยกตู้เย็นวิ่งหนีไฟไหม้เป็นต้น นอกจากนั้นตับยังทำหน้าที่เก็บสะสมวิตามินและเกลือแร่มากมายไว้ให้ร่างกายได้ใช้ในทุกกิจกรรม
• ตับขับของเสียออกจากร่างกาย สารอาหารที่ย่อยแล้วถ้ามีปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ตับจะถือว่าเป็นสารพิษที่ต้องขับทิ้งออกจากร่างกาย แต่ถ้าปริมาณมากเกินกว่าที่ตับจะสามารถขับทิ้งได้หมด สารพิษหรืออาหารเหล่านั้นจะแทรกตัวเข้ากระแสเลือดเข้าสู่ร่างกาย นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพ และนำมาซึ่งโรคภัยในที่สุด เช่น เริ่มจากมีน้ำหนักตัวเกิน ไขมันในเลือดสูง มีความดันโลหิตสูงตามมา อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ สมองขาดเลือด ต้อกระจก และโรคไ ตวาย ได้ รวมถึงอาจมีกลุ่มอาการของโรคอื่นแทรกขึ้นมาอีกก็ได้ เช่น โรคตับ โรคมะเร็ง หรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
ตับจึงเป็นอวัยวะที่ต้องเอาใจใส่เพราะการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ มีสุขภาพแข็งแรงนั้น ต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพของตับเป็นสำคัญด้วยค่ะ


สถานพยาบาล นบบ. ฝทบ

ข้อมูลเพิ่มเต็มจ้า

การกระจายไขมันมาที่ตับมากกว่าคนอื่น และ ในคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่ง ก่อให้เกิดการระคายเคืองอักเสบเรื้อรัง (บางคนมีแต่ไขมันไม่มีการอักเสบใด ๆ เลย) จนทำให้เกิดตับแข็ง หรือ มะเร็งได้ด้วย พบว่าโรคนี้อาจพบได้บ่อยถึง 60 % ของตับอักเสบเลย ถ้าเราแยกโรคที่พบบ่อยคือตับอักเสบจากสุรา และยาออกไปแล้ว ประมาณว่าพบโรคนี้ได้บ่อยมาก คือพบได้ร้อยละ 1-3 ของประชากร และ พบในชิ้นเนื้อตับในประเทศอเมริกา ถึง 7-9 %, มักพบในคนวัยกลางคน แต่อาจพบได้ในเด็ก (มักในเด็กอายุมากกว่า 10 ปี) และพบในเพศหญิงมากกว่าชาย (ในเมืองไทยยังไม่มีการศึกษาดูอุบัติการของโรคนี้อย่างจริงจังนัก ยังไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอน)

การพบไขมันในตับแล้วเกิดการอักเสบร่วมด้วย ควรแยกกลุ่มที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบซี เหล้า และ ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson's Disease) ออกไปก่อน แม้ 2 กลุ่มนี้จะมีไขมันในตับเหมือนกัน แต่การรักษาและการแนะนำต่างกันมาก

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดไขมันสะสมในตับอื่น ๆ คือ ภาวะอ้วน ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) (พบในคลอเรสเตอรอลสูงด้วย), เบาหวาน และอาจพบในรายที่อดอาหารมาเป็นเวลานาน หรือ ได้รับอาหาร หรือ น้ำตาลทางเลือดเป็นเวลานาน รวมทั้งยาบางอย่าง (amiodarone, tamoxifen, perhexilene maleate, glucocorticoids, ฮอร์โมนเช่น synthetic estrogens และ ยาฆ่าแมลง) ก็ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับได้ อย่างไรก็ตามพบว่า เกือบประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมในตับจะไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น

แพทย์บางท่านอาจอธิบายผู้ป่วยเบาหวาน ถึงรายละเอียดคำว่า มีแนวโน้มที่จะมีภาวะที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ( Insulin Resistant Syndrome) ซึ่งก็คือผู้ป่วยที่มักจะมีอาการโดยรวมต่อไปนี้ คือ
1. อ้วน
2. เป็นเบาหวาน
3. มีไขมันในเลือดสูง
4. มีความดันโลหิตสูง
จะพบได้มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมคั่งในตับเลยทีเดียว

โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมในตับ จะมีการดำเนินโรคที่ช้ามาก ตับของผู้ป่วยมักจะยังคงทำงานปกติได้ดีอยู่ ไม่ค่อยมีการดำเนินกลายไปเป็นตับแข็งเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ตามจะมีผู้ป่วยบางรายที่ตับจะมีการอักเสบ มีการทำลายเซลล์ตับไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผังพืดขึ้นในตับ จนท้ายที่สุดเป็นตับแข็งได้

- ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ตับอักเสบดำเนินไปคือ

1. อายุมากว่า 40 ปี 2. มีเบาหวาน

3. มีไขมันในเลือดสูง 4. พบว่ามีผังพืดในตับจากการเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ และ

5. ในผู้ป่วยที่มีค่า SGOT สูงกว่า SGPT ในเลือด ก็อาจจะเป็นตัวช่วยบ่งชี้ว่า มีผังพืดในตับเยอะพอสมควร หรือมีตับแข็งแล้ว

การอักเสบดีขึ้นเองราว 3 % ยังคงที่อยู่ 54 % และแย่ลง 43 % สรุปคือมีมากกว่าครึ่งที่ตับอักเสบอย่างนั้น แต่ไม่ได้แย่ลง แต่มีบางคนแย่ลงจนเกิดภาวะตับแข็งได้ด้วย พบว่าใน 7 ปี เกิดตับแข็งประมาณ 8 - 26 % ความเสี่ยงในการเกิดตับแข็งจะมากขึ้น ถ้าเป็นเบาหวานเพศหญิง ในคนอายุมาก ผู้ป่วยตับแข็งจะมีอาการ เลือดออกในหลอดอาหาร ขาบวม ท้องโตขึ้น สับสน หรือ ตัวตาเหลืองได้ บางรายอาจต้องถึงกับต้องพิจารณาเปลี่ยนตับ หรือ เกิดมะเร็งแทรกซ้อนได้ด้วย และอาจมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคตับได้ถึงร้อยละ 9 ในเวลา 10 ปี

ภาวะไขมันสะสมคั่งในตับอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิดโดยแบ่งตามพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อตับ ดังนี้
1. ชนิดที่มีแต่ไขมันสะสมคั่งในเซลล์ตับอย่างเดียว โดยการตรวจพบในอัลตร้าซาวน์หรือคอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย โดยดูจากเลขค่าการอักเสบตับ ที่เรียกว่าค่า SGPT ปกติดี ภาวะนี้เรียกว่า ไขมันในตับ ไม่เกิดการอักเสบ
2. ชนิดที่มีไขมันสะสมคั่งในเซลล์ตับ ร่วมกับมีการอักเสบของตับเล็กน้อย
ทั้ง 2 ชนิดแรกมักจะปกติ โอกาสเกิดปัญหาภายหลัง นับเป็น สิบ ๆ ปี ก็มักไม่เป็นไร ไม่มีอันตรายใด ๆ สรุปคือพบไขมันในตับจากอัตร้าซาวน์อย่างเดียวแต่ไม่มีการอักเสบใด ๆ โดยดูจากผลเลือด SGPT ปกติ ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่กรณีที่เป็นแบบ
3. ชนิดที่มีไขมันสะสมคั่งในเซลล์ตับ และมีการบวมโตอักเสบของเซลล์ตับร่วมด้วย
4. ชนิดสุดท้าย จะเป็นแบบชนิดที่ 3 แต่นานไป เกิดมีการตายของกลุ่มเซลล์ตับ และอาจเริ่มมีพังผืดในตับ หรือเริ่มตับแข็งร่วมด้วยแล้ว
ในชนิดที่ 3 และ 4 นั้น จะมีการอักเสบค่า SGPT หรืออาจเริ่มตรวจร่างกายพบโรคตับโดยแพทย์ จะมีการดำเนินโรคจนเกิดตับแข็งหรือมะเร็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น