วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทัศนะของคนญี่ปุ่น ต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์

ทัศนะของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์
- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าธรรมดา แต่มีความเชื่อมั่นในสินค้าที่ติดฉลากเขียวว่ารับประทานแล้วปลอดภัย
- ซูเปอร์มาเก็ตมุ่งเป้าหมายลูกค้าเกษตรอินทรีย์ไปที่กลุ่มแม่บ้านอายุ 30-40 ปี ฐานะปานกลางขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีการศึกษาและมีบุตร แม่บ้านกลุ่มนี้จะให้ความสนใจซื้อ สินค้าเพื่อสุขภาพ
- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังคงนิยมซื้อสินค้าฉลากเขียวที่ผลิตในญี่ปุ่น เนื่องจาก เชื่อใจในมาตรฐานมากกว่าสินค้านำเข้า สินค้ามีความสดมากกว่า รวมทั้งยังอนุรักษ์การผลิต สินค้าเกษตรในญี่ปุ่น และความคิดที่ว่ารับประทานของที่ผลิตในประเทศเป็นเรื่องที่น่า ภูมิใจ
โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านราคา ความปลอดภัยของอาหาร และการสอบทานสินค้าได้ (Traceability) มากกว่าจะพิจารณาจากปัจจัยด้านรูปทรงของสินค้าที่สมบูรณ์และสีอีกต่อไป
- กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคู่แต่งงานอายุต่ำกว่า 30 ปี จะนิยมซื้ออาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูปที่รับประทานสะดวก เช่น มันฝรั่งทอด ผักผสม (บร๊อกโคลี่และแครอท) และข้าวโพดแช่แข็ง (มันฝรั่งอินทรีย์แช่แข็งสำหรับทำเฟรนช์ฟรายส์มีสัดส่วน 40% ของตลาดผักอินทรีย์แช่แข็ง)
- อาหารนำเข้า ผู้บริโภคญี่ปุ่นจะนิยมซื้ออาหารที่นำเข้าจากออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ และสินค้าที่นำเข้า ถ้าเป็นสินค้าแช่แข็งจะไม่ถูกรมควัน
- ผู้บริโภคไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าที่ติดฉลากเขียว เนื่องจากสินค้าที่ติดฉลากเขียวก็ผลิตโดยไม่ใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงกว่าสินค้าที่ติดฉลากเขียว และผู้บริโภคยอมรับอัตราที่สูงกว่าเพียงระดับ 10-20% เท่านั้น ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีตราสัญลักษณ์สินค้าของตนเองจึงมีน้อยและไม่ขยายตัวมากกว่านี้

การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น
สินค้านำเข้าที่จะติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ต้องได้รับการรับรองโดย RCOs ซึ่ง สินค้านั้นต้องติดฉลาก JAS อย่างชัดเจนพร้อมชื่อ RCOs ที่ออกใบรับรอง ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่น 40 ราย เป็นบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ผู้ที่รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศสามารถขึ้นทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่นได้ ผู้ส่งออกในต่างประเทศสามารถขอมาตรฐาน JAS ได้โดย
1. ขออนุมัติสถานะของประเทศจาก MAFF โดยประเทศผู้ส่งออกต้องมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหน่วยงานตรวจสอบและออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ในประเทศผู้ส่งออกจะต้องขออนุญาตจาก MAFF ด้วย และสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกต้องติดฉลาก JAS บน หีบห่อก่อนส่งออกไปยังญี่ปุ่น
2. ประเทศผู้ส่งออกขออนุมัติมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น แต่หน่วยงานตรวจสอบในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก MAFF ซึ่งสามารถรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานแห่งชาติได้ (Organic conform to national organic standards) สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นสามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออก โดยไม่ต้องติดฉลาก JAS แต่ ผู้นำเข้าญี่ปุ่นเป็นผู้ติดฉลาก JAS ก่อนวางจำหน่ายสินค้าในตลาด
3. ถ้าระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออกยังไม่ได้รับอนุญาตจาก MAFF หรือยังไม่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ผู้ส่งออกสามารถให้ RCOs ในญี่ปุ่นเป็นผู้ขออนุญาตจาก MAFF และตรวจสอบระบบการผลิตในประเทศผู้ส่งออกได้
สินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้วยซึ่งใช้วิธีเดียวกัน วิธีการที่สะดวก คือ ขอคำแนะนำจากผู้นำเข้าและผู้กระจายสินค้าในญี่ปุ่นเกี่ยวกับการ ติดฉลาก มาตรฐานด้านสุขอนามัย โดยเฉพาะสินค้าใหม่และเครื่องหมายการค้าใหม่ ชื่อสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรเลือกชื่อสินค้าที่เหมาะสมกับตลาดญี่ปุ่น ข้อมูลตลาดและผลการวิจัยที่มีอยู่แล้วช่วยได้มาก ใบรับรองมาตรฐานสุขอนามัยสำหรับแต่ละสินค้าขอได้จาก ผู้นำเข้าหรือ Quarantine Division ของ MAFF เนื่องจากสินค้าที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อหรือแมลงด้วยความร้อนแล้วไม่ใช่สิ่งรับประกันว่าสินค้านั้นจะไม่ถูกรมควันซ้ำอีก ซึ่งจะทำให้ติดฉลากเกษตรอินทรีย์ไม่ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ คือ การรมควัน คุณภาพ ปริมาณ ฤดูกาลผลิต การส่งเสริมการขาย การเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ค่าขนส่งและอื่นๆ ซึ่งสูงกว่าสินค้าธรรมดา 20-30%
ข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น คือ กำหนดมาตรฐานคุณภาพไว้สูง และต้องใช้ใบรับรองสุขอนามัย ปลอดโรคพืชและแมลง (Phytosanitary) ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าผักผลไม้สดจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การสุ่มรมควันสินค้าเกษตรอินทรีย์สด ทำให้สินค้าไม่สามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ ไม่จูงใจให้มีผู้ส่งออกส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น

ในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตต้องผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ จาก RCOs ภายในหรือนอกประเทศญี่ปุ่นที่ได้ขึ้นทะเบียนต่อ MAFF โดยสามารถดำเนินการได้สองวิธี ดังนี้

1) การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องยื่นขอใบรับรองจาก RCOs ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ MAFF ภายในและนอกญี่ปุ่น จึงสามารถนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ญี่ปุ่นได้ ในกรณีนี้ถึงแม้ประเทศผู้ผลิตมีมาตรฐานเทียบเท่ากับ JAS แต่หากต้องการติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยตัวเองก่อนส่งออก ผู้ผลิตต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ใบรับรองเพื่อประทับตราสัญลักษณ์ JAS จากหน่วยงาน RCOs ที่ตั้งอยู่ภายในหรือนอกประเทศญี่ปุ่น

2) การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้นำเข้าญี่ปุ่น จำกัดเฉพาะกรณีการนำเข้าพืชผลเกษตรอินทรีย์ และ พืชผลเกษตรอินทรีย์แปรรูป จากประเทศผู้ผลิตที่มีมาตรฐานการตรวจสอบเทียบเท่ากับระบบของ JAS เท่านั้น (รายชื่อประเทศผู้ผลิตที่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ปรากฏในเอกสาร 6) สำหรับประเภทสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่มาจากประเทศที่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ก็ตาม ต้องได้ใบรับรองจาก RCOs ภายในหรือนอกญี่ปุ่นเท่านั้นจึงสามารถทำการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ญี่ปุ่นนอกจากนี้ประเทศผู้ผลิตต้องแนบเอกสารการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ออกโดยประเทศผู้ผลิต หรือ องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานเทียบเคียงกับ JAS ของประเทศผู้ผลิตอีกด้วยประเทศที่มาตรฐานการตรวจสอบเทียบเท่ากับ JAS ได้แก่ ไอร์แลนด์ สหรัฐฯ อาร์เจนตินาออสแตรีย เนเธอร์แลนด์ กรีก สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน สเปน เดนมาร์ก เยอรมนี ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม โปรตุเกส ลักแซมเบิร์ก และสหราชอาณาจักรวิธีการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าประเทศญี่ปุ่น มีขั้นตอน ดังนี้

กรณีที่ 1 การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกร

5. ปัญหาต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่น
1) การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่นมีต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าการเกษตรทั่วไปประมาณ 1.5-4 เท่า เนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นไม่ได้นำยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรช่วยในการผลิต ทำให้ถูกแมลงรบกวนหรือทำลายผลผลิตสูง ส่งผลให้ปริมาณในการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อครั้งนั้นน้อยกว่าการปลูกพืชเกษตรปรกติ (70-80%ของทั้งหมด)

2) พื้นที่การเกษตรของญี่ปุ่นมีขนาดเล็ก และเป็นแปลงย่อยๆ ทำให้ยากต่อการควบคุมการปนเปื้อนของยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรของบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอเมริกาหรือ ยุโรปแล้วนั้นจะมีขนาดพื้นที่ เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด

3) ต้องชำระค่า Certification ประมาณ100, 000 - 300,000 เยนต่อปี ให้กับองค์กรเพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการผลิตเป็นประจำรายปี

4) เส้นทางการขนส่งสินค้า โดยทั่วไปเกษตรกรในประเทศญี่ปุ่นจะจำหน่ายสินค้าผ่าน JA (Japan Agriculture Bank)ไปสู่ผู้ขายตรง และ ขายส่งทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นเนื่องจากไม่มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรในการผลิตทำให้ยากต่อการควบคุมและกำหนดปริมาณผลผลิต เป็นการยากที่จะจำหน่ายสินค้าผ่าน JA ที่ต้องการรับสินค้ามาจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากการขนส่งสินค้าการเกษตรอินทรีย์ปราศจากการเจือปนของสารเคมีต่าง ๆ ในระหว่างขนส่ง ดังนั้นเส้นทางลำเลียงสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นจึงยังมีข้อจำกัด ส่วนมากเกษตรกรที่ผลิตผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะทำการจำหน่ายและขายตรงต่อร้านค้าปลีก-ส่งด้วยตัวเอง

6. รสนิยมและความพอใจของผู้บริโภคญี่ปุ่นต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์
1) ญี่ปุ่นบริโภคสินค้าด้วยคุณภาพ และความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอก เนื่องจากพืชผลเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตร รูปลักษณ์ภายนอกอาจจะดูไม่สวยงามเท่ากับพืชผลที่ใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรในการผลิต จึงไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเท่าที่ควร

2) จากผลการสำรวจความสนใจต่อของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์พบว่า 28.2% มีความสนใจมาก 57.5% มีความสนใจเล็กน้อย 13.8% มีความสนใจไม่มากและ 0.5% ไม่มีความสนใจเลย สำหรับผู้ที่สนใจสินค้าเกษตรอินทรีย์ ให้เหตุผลว่าเพราะ ต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 46.4% และเพื่อสุขภาพ 35.0%

3) ผู้บริโภคญี่ปุ่นส่วนใหญ่ หรือประมาณ 60% ยินดีจ่ายเงินเพื้อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในราคาสูงกว่าไม่เกิน 10% จากสินค้าเกษตรทั่วไป มีเพียง 15% ที่ยินดีจะจ่ายแพงขึ้น 20% ของราคาสินค้าเกษตรทั่วไป และมีผู้บริโภคเพียง 10% ที่พอใจจะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยไม่สนใจราคา

7. ข้อคิดเห็น
ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นนั้นยังเป็น Niche market เนื่องจากราคายังสูงกว่า สินค้าการเกษตรทั่วไปอยู่มาก แม้ว่าผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสนใจเรื่องด้านความปลอดภัยและสุขภาพ แต่ผู้บริโภค ก็ยังเห็นว่าคุณค่าของการเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังไม่ชัดเจน และคุ้มค่าเพียงพอกับราคาขายที่สูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตามความตื่นกลัวเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยกำลังเป็นประเด็นปัญหาใหญ่สำหรับตลาดญี่ปุ่นที่ยังต้องพึ่งพาอาหารนำเข้าสูงถึงร้อยละ 60 ของจำนวนแคลอรี่ที่บริโภค ประกอบกับผู้สูงอายุในสังคมญี่ปุ่นที่นับวันจะมีสัดส่วนและเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าปลอดภัย สินค้าสุขภาพ รวมถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในภาวะที่ญี่ปุ่นยังมีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ผลิต และต้นทุนสูง จึงจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรและอาหาร คุณภาพดีต่อไป ตลาดที่ปัจจุบันยังเป็น Niche จึงมีแนวโน้มขยาย แต่ด้วยเงื่อนไขและข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวด ผู้ผลิต และผู้ส่งออกของไทยที่ต้องการหันมาขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์จึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะการยื่นขอรับเอกสารรับรองมาตรฐาน เพื่อให้สามารถประทับเครื่องหมาย Organic JAS Mark เพื่อให้สามารถเข้าไปจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นและตลาดโลกอย่างจริงจัง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น