วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตัวเลขบน ฉลากบนผลไม้

รู้ไว้ใช่ว่า : ฉลากบนผลไม้

Conventional Fruit Labels - Four digits starting with 4
ฉลากผลไม้ทั่วไป - มีตัวเลขสี่หลัก ขึ้นต้นด้วย 4 เช่น 4xxx

Organic Fruit Labels - Five digits and starts with number 9
ฉลากผลไม้ Organic (ผลไม้ที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี) - มีตัวเลขห้าหลัก ขึ้นต้นด้วย 9 เช่น 9xxxx

Genetically Modified Fruits (GMO) -Start with the digit 8
ฉลากผลไม้ GMO (ผลไม้ที่ปลูกโดยใช้พันธ์ที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรม)
- มีตัวเลขห้าหลัก ขึ้นต้นด้วย 8 เช่น 8xxxx

So next time you go shopping, remember these critical numbers and know how to avoid purchasing inorganic and GMO fruits. Shop Safe :
This is good to know because stores aren't obligated to tell you if a fruit has been genetically modified .

ดังนั้นครั้งต่อไปที่คุณจะเลือกซื้อผลไม้ จำไว้ว่าตัวเลขสำคัญที่คุณควรรู้ เพื่อจะหลีกเลี่ยงการซื้อผลไม้ที่มีสารเคมีและผลไม้ GMO

So if you come across an apple in the store and it's label is 4922, it's a conventional apple grown with herbicides and harmful fertilizers.
ดังนั้น ถ้าคุณเห็นแอปเปิ้ล ที่มีรหัส 4922 แปลว่า แอปเปิ้ลนี้เป็นแอปเปิ้ลทั่วๆไป ที่ปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยปกติ

If it has a sticker 99222, it's organic and safe to eat.
ถ้าแอปเปิ้ลติดสติ๊กเกอร์ มีรหัส 99222 แสดงว่าเป็นแอปเปิ้ลที่ปลูกโดยวิธีปลอดสารเคมี และปลอดภัย


If it says 89222, then do not buy!!!! It has been genetically modified (GMO).
ถ้าแอปเปิ้ลติดสติ๊กเกอร์ มีรหัส 89222 อย่าซื้อ!!!
แสดงว่าเป็นแอปเปิ้ลที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรม(GMO)


สำหรับฉลากโภชนาการคืออะไร
การแสดงฉลากโภชนาการ คือ การแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นๆ บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหารโดยอยู่ภายในกรอบที่มีรูปแบบเดียวกันซึ่งเรียกว่า กรอบข้อมูลโภชนาการ นอกจากนั้น ยังรวมถึงการใช้ข้อความกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น โปรตีนสูง เสริมวิตามินซี เป็นต้น
ดังนั้น จึงกล่าวง่ายๆได้ว่า คือ…

ฉลากอาหารปกติทั่วไป ซึ่งต้องมีข้อมูลการแสดงฉลากโดยทั่วไป เช่น ชื่อ ที่อยู่ผู้ผลิต วันผลิต น้ำหนักสุทธิ ฯลฯ อยู่แล้ว และ ฉลากนี้ มีการแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้น ในรูปของ
• กรอบข้อมูลโภชนาการ" ซึ่งระบุ
• ชนิดสารอาหาร
• ปริมาณสารอาหารตามรูปแบบเงื่อนไขที่กำหนด โดยอาจมี
• ข้อความกล่าวอ้าง เช่น แคลเซียมสูง เสริมไอโอดีนด้วยหรือไม่ก็ได้


ทำไมจึงต้องมีการแสดงฉลากโภชนาการ
ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การกิน มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการของคนไทย มีทั้ง
• ขาด เช่น ขาดโปรตีน โรคขาดไอโอดีน โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
• เกิน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคโคเลสเตอรอลสูงในเลือด โรคความดันโลหิตสูงดังนั้น การเลือกบริโภคให้ถูกต้องเหมาะสมกับภาวะโภชนาการของแต่ละคน จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดูแลสุขภาพ


ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ
ฉลากโภชนาการช่วยให้ผู้บริโภค
1. เลือกซื้ออาหารและเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการ หรือภาวะทางโภชนาการของตนได้ เช่น เลือกอาหารที่ระบุว่ามีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือ มีโซเดียมต่ำ
2. เปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน โดยเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่าได้
3. ในอนาคต เมื่อผู้บริโภคสนใจ ต้องการข้อมูลโภชนาการของอาหาร ผู้ผลิตก็จะแข่งขันกันผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า แทนการแข่งขันกันในเรื่องหีบห่อ สี หรือสิ่งจูงใจภายนอกอื่นๆ

การเลือกกินให้ถูกต้อง
การกินอาหารให้ถูกต้องมีความสำคัญโดยตรงในการช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และลดโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้หลายอย่าง ในการกินอาหารทั่วๆไป เราจึงควรเลือกกินอาหารให้ถูกต้องตามแนวทาง "ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย" ซึ่งจัดทำโดย คณะทำงานจัดทำข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดังต่อไปนี้ คือ
1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เป็นบางมื้อ
3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด
8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งด หรือลด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ได้บริโภคอาหารที่ซื้อ หรือหุงหาเองซึ่งเป็นอาหารธรรมดา เช่น ข้าว แกง ผัดผักกับหมู ฯลฯ อยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งเราก็ได้ซื้ออาหารที่เรียกว่า อาหารแปรรูป มาบริโภคด้วย อาหารเหล่านี้แปรรูปไปแล้วและเราไม่สามารถมองเห็นว่า นี่คือเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือไม่ หรือมีผักผสมอยู่แค่ไหน เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจมีรูปร่าง หน้าตาที่แตกต่างไปแล้วอย่างสิ้นเชิง ในกรณีเช่นนี้ เราจะเลือกซื้อ หรือเลือกกินอาหารได้ โดยดูจาก ข้อมูลปริมาณสารอาหารบนฉลาก เช่น ปริมาณไขมัน ปริมาณเกลือโซเดียม วิตามิน หรือปริมาณน้ำตาล
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า หากจะกินอาหารในรูปแบบปกติ เช่น ข้าว เป็นจาน ก๋วยเตี๋ยว ผัด แกง ก็ให้ปฏิบัติตาม "ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย" ทั้ง 10 ประการ แต่หากจะเลือกซื้ออาหารแปรรูป ก็ให้ดูจากปริมาณสารอาหารที่แสดงในกรอบข้อมูลโภชนาการนั่นเอง

ฉลากโภชนาการในระดับนานาชาติ
ปัจจุบันประเทศทั่วโลกได้กำหนดให้มีการแสดง คุณค่าทางโภชนาการของอาหารบนฉลาก เพื่อให้ข้อมูลในการเลือกอย่างเหมาะสมแก่ผู้บริโภค สำหรับในระดับนานาชาตินั้น ในการประชุมสมัชชาระหว่างประเทศว่าด้วยโภชนาการ (International Conference on Nutrition-ICN) เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ประเทศต่างๆทั่วโลกได้ร่วมกันจัดทำปฏิญญาโลกว่าด้วยโภชนาการและแผนปฏิบัติการด้านโภชนาการโลก (World Declaration and Plan of Action for Nutrition) ซึ่งได้มีการกำหนดให้ การจัดให้มีการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากอาหาร (Nutrition Labelling) เป็นกลวิธีหนึ่งของแผน ในด้านของโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศของ FAO/WHO (Codex Alimentarius) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า Codex ก็ได้กำหนด หลักเกณฑ์สำหรับประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้ในการพิจารณากำหนดข้อบังคับการแสดงฉลากโภชนาการ

หลักเกณฑ์การแสดงฉลากโภชนาการของ Codex
• ให้ประเทศต่างๆกำหนดให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และภาวะทางโภชนาการของแต่ละประเทศ และ
• อาหารใดที่มีการกล่าวอ้างคุณค่า คุณประโยชน์ เช่น โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ก็จะต้องแสดงฉลากโภชนาการประกอบข้อกล่าวอ้างด้วย และ
• สารที่อนุญาตให้ระบุจะต้องเป็นสารอาหารที่มีการกำหนดค่าความต้องการต่อวันไว้แล้วเท่านั้น คืออนุญาตเฉพาะสารอาหารที่คุณค่า ประโยชน์และความจำเป็นที่จะต้องได้รับในปริมาณที่กำหนดในแต่ละวันได้รับการยอมรับแล้วในหมู่นักโภชนาการทั่วโลก โดยประเทศนั้นๆได้นำมาปรับกำหนดเป็นเกณฑ์ เป็นแนวในการบริโภคที่เหมาะสมสำหรับประชาชนของตนแล้ว

การดำเนินการของ อย. ที่ผ่านมา
ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจต่ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่อาหารสำเร็จรูปที่มีแพร่หลายอยู่ในท้องตลาดนั้น ผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญในด้านคุณค่าทางโภชนาการของตัวอาหารน้อยมาก ในขณะเดียวกันก็มีการโฆษณาโดยใช้โภชนาการเป็นจุดขาย ทั้งที่หลาย ๆ ผลิตภัณฑ์อาจไม่มีคุณค่าตามที่อ้างจริง นอกจากนั้น ยังมีการกล่าวอ้างทางโภชนาการกันอยู่ทั่วไปโดยไม่มีเกณฑ์ระดับ เช่น แคลเซียมสูง ปราศจากโคเลสเตอรอล อันทำให้ผู้บริโภคสับสน และยังเกิดความไม่เป็นธรรมในหมู่ผู้ประกอบการด้วยกันที่ไม่ได้มีการกล่าวอ้าง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำมาตรฐานการแสดงฉลากโภชนาการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการแสดงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากอาหารขึ้นเป็นการเฉพาะ การจัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ ยึดแนวทางของ Codex เป็นหลัก จึงจัดได้ว่าเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สำหรับสารอาหารที่ระบุให้ต้องแสดงบนฉลากนั้น ก็เป็นสารอาหารที่ผ่านการพิจารณาแล้วว่ามีความสำคัญต่อภาวะโภชนาการที่ดีของคนไทยปัจจุบัน

หัวใจของการแสดงฉลากโภชนาการ
ในการออกข้อกำหนดการแสดงฉลากโภชนาการนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้คำนึงถึงแนวทางอันถือว่าเป็น "หัวใจ" ของการแสดงฉลากโภชนาการอันได้แก่
1. การกล่าวอ้างต้องเป็นความจริง
2. ข้อมูลนั้นให้ความรู้ทางโภชนาการที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค
3. ไม่ทำให้เข้าใจผิด
4. การกล่าวอ้างจะต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการค้าอย่างไม่ยุติธรรม
5. การกล่าวอ้างของอาหาร ต้องมีข้อมูลทางโภชนาการของอาหารนั้นประกอบอยู่ด้วยเช่น บอกว่า มีวิตามินเอ ต้องมีจริง
แต่ถ้ามีจริงแต่มีน้อยเกินไปก็จะกล่าวว่า "มี" ไม่ได้ เพราะน้อยเกินกว่าที่จะเป็นประโยชน์ทางโภชนาการต่อร่างกาย ดังนั้น จะกล่าวว่า "มี" ได้ก็ต้องมีอย่างน้อย 10% ของ Thai RDI * ขึ้นไป และถ้าจะกล่าวว่า "สูง" ก็ต้องมีถึง 20 %การให้ข้อมูลทั่วไปบนฉลากว่า "แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน" นั้น ผู้บริโภคเห็นแล้วก็จะเข้าใจว่าอาหารที่ระบุข้อความนี้มีแคลเซียมอยู่มาก ดังนั้น จะระบุข้อความให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของแคลเซียมเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่ออาหารนั้น "มี" แคลเซียมอย่างน้อย 10% ของ Thai RDI เท่านั้น

หากน้ำมันพืชตราหนึ่งระบุว่า "ปราศจากโคเลสเตอรอล" ผู้บริโภคจะเข้าใจว่าน้ำมันพืชตราอื่นที่ไม่ได้ระบุเช่นนั้นมีโคเลสเตอรอล ทั้งที่จริงแล้ว พืชใดๆก็ไม่มีโคเลสเตอรอลทั้งสิ้น! ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ระบุว่า "ปราศจาก" หรือ "ต่ำ" หากอาหารเป็นอย่างนั้นอยู่แล้วเหมือนกันหมดไม่ว่าตราใด เนื่องจากผู้ไม่ระบุจะเสียเปรียบอย่างไม่ยุติธรรม

หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และกล่าวว่า "มีวิตามินเอ" บนฉลากได้ ก็ต้องแสดงให้รู้ด้วยว่ามีโคเลสเตอรอลเท่าไร ระดับไขมันเป็นอย่างไร ฯลฯ โดยแสดงในรูปกรอบข้อมูลโภชนาการตามแบบที่กำหนด ประกอบการกล่าวอ้างนั้น
* บัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes-Thai RDI)

อาหารทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการหรือไม่ ?
คำตอบคือ "ไม่"
การแสดงฉลากโภชนาการตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ เป็นการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับ ให้อาหารที่มีการกล่าวอ้างต้องแสดงฉลากโภชนาการโดยบังคับ ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางที่ Codex กำหนดดังนั้น สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ถูกบังคับให้แสดงฉลากโภชนาการตามประกาศฯฉบับนี้ ก็สามารถจะแสดงฉลากโภชนาการโดยสมัครใจได้ แต่ต้องเป็นไปตามรูปแบบ และเงื่อนไขที่กำหนดด้วยอาหารใดเข้าข่ายว่ามีการกล่าวอ้าง ?
ผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2541 ได้แก่ อาหารที่จัดว่ามีการกล่าวอ้างต่อไปนี้
1. อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น แคลเซี่ยมสูง เสริมวิตามิน หรือระบุคุณประโยชน์ เช่น แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ทั้งนี้ รวมถึงอาหารที่มีการแสดงข้อมูลชนิดและปริมาณสารอาหารด้วย เช่น อาหารที่มีการแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการ
2. อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย ซึ่งเป็นคุณค่าทางอาหาร/โภชนาการ เช่น บำรุงร่างกาย เพื่อสุขภาพ สดใสแข็งแรง อนึ่ง การระบุคุณค่าในลักษณะของป้องกันหรือรักษาโรค เช่น ลดความอ้วน ป้องกันมะเร็ง จะไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงบนฉลากอาหารอยู่แล้ว
3. อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย เช่น สำหรับผู้บริหาร สำหรับเด็ก หรือสำหรับกลุ่มบุคคลต่างๆโดยทั่วไปในลักษณะเดียวกัน โดยที่มิใช่กลุ่มผู้ป่วยและไม่มีกระบวนการตรวจสอบทราบถึงความเหมาะสมเฉพาะที่อ้าง เนื่องจากอาจไม่มีการกำหนดค่าความต้องการทางโภชนาการเฉพาะไว้แน่ชัด หรือสาเหตุอื่นๆ การระบุกลุ่มนี้ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาหารนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการพิเศษเฉพาะ ดังนั้น จึงต้องถูกบังคับให้แสดงข้อมูลโภชนาการให้ผู้บริโภคมีโอกาสตัดสินใจเลือกความเหมาะสมสำหรับกลุ่มนั้นเองจากกรอบข้อมูลโภชนาการ
นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังอาจประกาศกำหนดให้อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในด้านคุณค่า คุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างแพร่หลายต้องแสดงฉลากโภชนาการก็ได้

ผลบังคับใช้
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ ได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่ม 115 ตอนที่ 47 ง. ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 8 ธันวาคม 2541 ต่อมา เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ มีผลบังคับใช้ ปรากฏว่าในทางปฏิบัติแล้ว การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบควบคู่มีปัญหาอุปสรรคมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากในการเตรียมอาหารเพื่อการตรวจวิเคราะห์ ดังนั้น ในปี 2544 จึงได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 219) พ.ศ. 2544 เรื่อง ฉลากโภชนาการ (ฉบับที่ 2) ปรับแก้ไขให้การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบควบคู่ เป็นการแสดงโดยสมัครใจ โดยได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 118 ตอนพิเศษ 70 ง. ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

ข้อมูลโภชนาการที่แสดงบนฉลากแบ่งเป็น
1. ข้อมูลที่บังคับ คือข้อมูลสารอาหารที่มีความสำคัญหลักสำหรับคนไทย ได้แก่
 ปริมาณพลังงานทั้งหมด และปริมาณพลังงานที่ได้จากไขมัน
 คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน
 วิตามิน เกลือแร่ โดยเฉพาะที่สำคัญสำหรับภาวะโภชนาการของคนไทยปัจจุบัน คือ วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม เหล็ก
 สารอาหารที่ต้องระวังไม่ให้กินมากเกินไป ได้แก่ โคเลสเตอรอล โซเดียม ไขมันอิ่มตัว และน้ำตาล
 สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ใยอาหาร
นอกจากนั้น ยังบังคับเพิ่มเติมในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
 สารอาหารที่มีการเติมลงในอาหาร (Fortification/Nutrification)
 สารอาหารที่มีการกล่าวอ้าง เช่น หากระบุว่า "มีไอโอดีน" ไอโอดีนก็จะกลายเป็นสารอาหารที่บังคับให้แสดงในกรอบข้อมูลโภชนาการด้วย
2. ข้อมูลที่ไม่บังคับ เช่น วิตามินเกลือแร่อื่นๆ ก็สามารถใส่ในฉลากได้ แต่ต้องระบุต่อท้ายจาก เหล็ก และเรียงจากมากไปหาน้อยด้วย
สำหรับรูปแบบมาตรฐานของกรอบข้อมูลโภชนาการนั้น ใช้แบบเต็มเป็นหลัก โดยอาหารที่มีสารอาหารไม่กี่อย่าง (ตามเกณฑ์) จะได้รับอนุญาตให้เลือกแสดงแบบย่อก็ได้ สารอาหารที่บังคับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น